สำหรับเจ้าของกิจการเล็ก ๆ อย่างธุรกิจ SME เชื่อได้ว่าหนึ่งในงานที่มีความยุ่งยาก และชวนให้ปวดหัวในแต่ละเดือน คือการทำเงินเดือนให้กับลูกจ้างหรือพนักงานนั่นเอง เพราะธุรกิจขนาดเล็กอาจจะไม่มีบุคลากร หรือคนเพียงพอสำหรับรับผิดชอบหน้าที่การทำเงินเดือนโดยเฉพาะ ดีไม่ดีคนที่ทำเงินเดือนก็คือตัวเจ้าของธุรกิจเองด้วยซ้ำไป และถ้าหากมีการทำเงินเดือนผิดพลาด นอกจากจะมีผลต่อขวัญและกำลังใจของพนักงานแล้ว ยังมีผลในเรื่องของกฎหมายและการเสียภาษีกันอีกด้วย ดังนั้นเราจึงได้รวบรวมปัญหาการทำเงินเดือนของธุรกิจ SME ที่มักจะเจอ และแนวทางการแก้ปัญหาการทำเงินเดือนของ SME มาฝากกัน
ปัญหาการทำเงินเดือนที่ SME ส่วนใหญ่มักจะเจอ
-
ไม่มีคนทำ
งานจัดทำเงินเดือน (Payroll) เป็นงานที่ค่อนข้างมีความยุ่งยากซับซ้อน ซึ่งในกลุ่มของธุรกิจ SME การจ้างคนมาทำเงินเดือนโดยเฉพาะนั้นเป็นการเพิ่มตำแหน่งงาน ซึ่งหมายถึงการเพิ่มค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน,สวัสดิการ, โบนัส รวมไปถึงในกรณีที่มีการเลิกจ้าง ที่ต้องมีค่าชดเชยให้กับพนักงานในตำแหน่งนั้นอีกด้วย ดังนั้นอาจจะมีการนำเอาการทำเงินเดือนไปรวมกับแผนกที่ทำบัญชี หรือเจ้าของเป็นคนคิดเงินเดือนเอง ถ้าหากมีพนักงานไม่กี่คนก็อาจจะไม่เป็นการเพิ่มภาระงานมากนัก แต่ถ้าหากมีพนักงานหลายคน มีหลากหลายตำแหน่ง การทำเงินเดือนจะเริ่มมีความยุ่งยากซับซ้อนขึ้นมาทันที
-
ขาดความรู้ คนที่ทำไม่เชี่ยวชาญ
อย่างที่กล่าวไปแล้วในข้างต้น ว่าเมื่อธุรกิจไม่มีคนทำเงินเดือนโดยเฉพาะ ทำให้ภาระการทำเงินเดือนต้องตกไปอยู่กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่อาจไม่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับการทำเงินเดือน ผลที่อาจตามมาคือมีปัญหาในเรื่องของการจ่ายเงินเดือนตามยอดไม่ถูกต้อง บางทีก็อาจจะมีการจ่ายเงินเดือนล่าช้า
-
ระบบการทำเงินเดือนที่ล้าหลัง
ผู้ประกอบการบางคนอาจเลือกใช้การคิดเงินเดือนด้วยการคำนวณตามปกติ ซึ่งวิธีการนี้สามารถเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย มีความยุ่งยาก และใช้เวลานาน ทำให้ผู้ประกอบการ SME บางคนหันมาเลือกใช้ระบบการทำเงินเดือน แต่ระบบที่ใช้ควรจะต้องมีการอัพเดทซอฟแวร์หรือมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ซึ่งในส่วนนี้นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงแล้ว ก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีคนดูแลจัดการอีกด้วยจึทำให้ผู้ประกอบการหลายคนไม่อยากลงทุนในส่วนของการติดตั้งระบบการทำเงินเดือนมากนัก
-
การทำเงินเดือนผิดพลาด
จากสาเหตุต่าง ๆ ในข้างต้น ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุที่อาจทำให้การทำเงินเดือนผิดพลาดขึ้นมาได้ ซึ่งการทำเงินเดือนที่ผิดพลาดนอกจากจะส่งผลต่อสภาพจิตใจของพนักงาน และความเชื่อมั่นในองค์กรแล้ว ยังอาจส่งผลไปในเรื่องของแง่กฎหมาย อย่างเช่น การเสียภาษี การจ่ายประกันสังคม การจ่ายเงินเดือนล่าช้า ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่เป็นผลอันดีต่อธุรกิจ SME ของคุณแต่อย่างใด
2 ตัวช่วย จบปัญหาว้าวุ่น เมื่อ SME ต้องจ่ายเงินเดือน
1.ใช้แอปทำเงินเดือน
หากไม่อยากซื้อโปรแกรมแพง ๆ มาไว้สำหรับการทำเงินเดือน แนะนำให้มองหาเป็น Application สำหรับทำเงินเดือน ที่ใช้งานได้ไม่ยากและสามารถใช้งานได้จริง ซึ่งในตอนนี้ทาง RLC ของเราได้เป็น partner กับ Humen Os โดยเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับงาน HR ที่ให้บริการครอบคลุมครบทุกฟังก์ชันสำหรับพนักงาน
ซึ่งฟังก์ชันหลัก ๆ ของแอป HumanOS นั้นประกอบไปด้วย ข้อมูลติดต่อของพนักงานหรือบุคลากรต่าง ๆ ในองค์กร ข้อมูลลูกค้า การแจ้งเตือน การลงเวลาทำงาน การลางานแบบออนไลน์ที่สามารถแนบใบรับรองแพทย์มาได้ การแจ้งลางานล่วงหน้าของพนักงาน โดยที่เจ้าของธุรกิจสามารถดูข้อมูลและอนุมัติงานผ่าน Application บนมือถือได้อย่างสะดวกได้ทุกที่ทุกเวลา พร้อมแจ้งผลผ่าน Notification อีกทั้งยังสามารถบันทึกข้อมูลการทำงานในแต่ละวัน เพื่อให้เจ้าของธุรกิจสามารถตรวจสอบข้อมูลการทำงานย้อนหลังได้ตลอดเวลา
2.การจ้างบริษัทรับทำเงินเดือน
ในบางครั้งการใช้ Application เพื่อคำนวณเงินเดือน อาจไม่ใช่คำตอบของธุรกิจ SME เสมอไปเนื่องจากยังต้องใช้คนในสำหรับการบริหารจัดการ ดังนั้นอีกหนึ่งทางเลือกคือการจ้างบริษัทที่รับทำเงินเดือนโดยเฉพาะ ซึ่งบริการทำเงินเดือนของ RLC จะเป็น end to end payroll ที่ดูแลในส่วนของการทำเงินเดือนให้กับธุรกิจ SME ได้ตั้งแต่ต้นจนจบแบบครบวงจร
ทั้งการทำแบบรายเดือนและรายปี รวมไปถึงการอำนวยความสะดวกในการจัดการพนักงานด้วย Application ต่างๆ เช่น Time attendance, Leave management, OT management และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารพนักงาน ให้กับลูกค้า ซึ่งบริการรับทำเงินเดือนของ RLC มีรายละเอียดเบื้องต้นดังนี้
การทำรายเดือน
-
- การทำเงินเดือนให้กับพนักงาน
- การขึ้นระบบจ่ายเงิน
- การแจ้งเข้าพนักงานประกันสังคม
- การแจ้งออกพนักงานประกันสังคม
- การยื่นแบบประกันสังคม
- การยื่น ภงด. 1 สำหรับพนักงานที่ต้องมีการเสียภาษี โดยคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดให้ถูกต้องถูกตามหลักสรรพากร พร้อมทั้งยื่นยอดรายได้สำหรับพนักงานที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์เสียภาษีไปด้วย
- การจ่าย ภงด.1
- การทำสลิปเงินเดือน
- การส่งเอกสารให้บัญชีเพือบันทึกบัญชี
การทำรายปี
-
- ทำการสรุป ภงด.1ก รวมรายได้ของพนักงานทุกคน
- ออกใบ 50 ทวิ หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายประจำปี
- การทำ กท. 20 หรือกองทุนเงินทดแทนแก่สำนักงานประกันสังคม
สรุป
ถึงแม้ธุรกิจ SME อาจถูกมองว่าเป็นกิจการขนาดเล็ก แต่ในเรื่องของการจ้างพนักงานหรือลูกจ้างที่ถูกต้องตามกฎหมาย ก็จะต้องปฏิบัติแทบจะไม่แตกต่างจากองค์กรใหญ่ ๆ กันเลยทีเดียว ซึ่งปัญหายุ่งยากที่พบส่วนใหญ่ก็คือการทำเงินเดือน จนในบางครั้งอาจส่งผลกระทบต่อกิจการขึ้นมาได้
ดังนั้นการมองหาตัวช่วย ไม่ว่าจะเป็นการใช้แอปพลิเคชั่น หรือจ้างบริษัทรับทำเงินเดือน จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับเจ้าของธุรกิจ SME เพราะนอกจากจะเป็นการประหยัดเวลา และตัดปัญหาความยุ่งยากแล้ว ยังมั่นใจได้ถึงความถูกต้องทั้งในเรื่องของการคำนวณเงินเดือน และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำเงินเดือนได้อย่างครอบคลุม ช่วยให้ธุรกิจของคุณสามารถดำเนินไปได้อย่างสะดวกราบรื่นมากยิ่งขึ้น
SEO Specialist and Client Success at RLC Outsourcing