ปัจจุบันองค์กรหลายแห่ง แม้กระทั่งธุรกิจหลายๆ เจ้า ต่างต้องพบกับความท้าทายมากขึ้นในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล อย่างปัญหาการลาออกกระทันหันที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หรือการต้องจ้างพนักงานใหม่ในตำแหน่งที่มักมีการ Turnover rate สูง ดังนั้นในหลายองค์กรหลายธุรกิจต่างต้องสูญเสียทั้งเวลา ค่าจ้าง และสวัสดิการที่ต้องให้พนักงานในแต่ละเดือน ซึ่งก็เป็นเหตุผลให้องค์กรเลือกที่จะประหยัดงบประมาณผ่านการจ้างงานแบบ “ชั่วคราว” หรือที่เรียกว่า “พนักงานชั่วคราว”
หลายคนอาจสงสัยว่าการจ้างงาน “พนักงานชั่วคราว” เป็นทางเลือกใหม่ในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล ที่สามารถช่วยเพิ่มศักยภาพให้องค์กรได้จริงหรือ? และ “พนักงานชั่วคราว” เหมือนหรือต่างกับ “พนักงานแบบสัญญาจ้างชั่วคราว” อย่างไร
มาอ่านคำตอบได้ที่ด้านล่างไปพร้อมๆ กันเลย
“พนักงานชั่วคราว” VS “พนักงานการจ้างงานแบบสัญญาจ้างชั่วคราว” ต่างกันยังไง?
พนักงานชั่วคราว VS พนักงานการจ้างงานแบบสัญญาจ้างชั่วคราว ถ้าเปรียบเป็นคนก็เรียกได้ว่าเป็นพี่น้องฝาแฝดกันเลย เพราะแท้จริงแล้วความหมายของทั้ง 2 อย่างนี้มีความคล้ายคลึงกันมาก แต่จะมีรายละเอียดบางอย่างที่แตกต่างกันอยู่บ้าง เช่น
1. พนักงานชั่วคราว หมายถึง พนักงานที่นายจ้างจ้างทำงานเป็นครั้งคราว อย่าง พนักงาน Part-time รายวัน , พนักงานรายชั่วโมง และฟรีแลนซ์ โดยการจ้างงานจะอยู่ในรูปแบบงานโครงการหรือประเภทงานที่มีระยะเวลาสั้นๆ (ไม่เกิน 4 ปี) ซึ่งการจ้างพนักงานชั่วคราวอาจมีการทำงานแบบเต็มเวลาหรือนอกเวลา
ทั้งนี้ พนักงานชั่วคราวจะไม่ได้รับสิทธิคุ้มครองอย่าง “การได้รับเงินชดเชย กรณีถูกเลิกจ้าง”
2. พนักงานการจ้างงานแบบสัญญาจ้างชั่วคราว หมายถึง การจ้างงานโดยมีสัญญาจ้าง พร้อมมีกำหนดระยะเวลาทำงานไว้ล่วงหน้า , ระบุเงื่อนไขหน้าที่ , รายละเอียดค่าจ้าง , สิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับ
และหากถูกเลิกจ้างก่อนเวลากำหนดในสัญญา ก็จะได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน “กรณีถูกเลิกจ้าง”
บทความที่เกี่ยวข้อง: สัญญาจ้างงานมีผลต่อเงินค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างหรือไม่ อย่างไรเปรียบเทียบระหว่าง พนักงานชั่วคราว VS พนักงานการจ้างงานแบบสัญญาจ้างชั่วคราว
ลองมาดูการเปรียบเทียบระหว่าง พนักงานชั่วคราว VS พนักงานการจ้างงานแบบสัญญาจ้างชั่วคราว ว่าทั้ง 2 ประเภทนี้มีความเหมือน คล้าย หรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ซึ่งจะแบ่งข้อเปรียบเทียบออกเป็นดังนี้
ทำไม? การจ้างพนักงานชั่วคราว จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่องค์กรหันมาให้ความสนใจ
จากในหัวข้อที่แล้ว ได้อธิบายถึงความแตกต่างของพนักงานชั่วคราว VS พนักงานการจ้างงานแบบสัญญาจ้างชั่วคราว ว่าแตกต่างกันอย่างไรไปแล้ว แต่อาจจะยังมองไม่เห็นภาพ ว่าการจ้างพนักงานชั่วคราวจะสามารถเข้ามาช่วยเพิ่มศักยภาพให้องค์กรหรือธุรกิจในปัจจุบันได้อย่างไร?
ต้องอธิบายสาเหตุเพิ่มเติมก่อนว่า จากการที่องค์กรเริ่มให้ความสนใจจ้างงานพนักงานชั่วคราวนั้น เนื่องจากองค์กรเริ่มต้องประสบปัญหาการลาออกกระทันหันของพนักงานประจำ , มีตำแหน่งงานในองค์กรที่มีเปอร์เซ็นต์การ Turnover rate สูง หรือแม้กระทั่งความต้องการพนักงานที่มีความสามารถเฉพาะด้านมาร่วมงานในองค์กร แต่ก็ไม่อาจสู้กับเงินเดือนที่ต้องจ่ายในระยะยาวให้พนักงานได้
ซึ่งการที่องค์กรเลือกใช้วิธีบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลอย่าง “การจ้างพนักงานชั่วคราว” สามารถทำให้องค์กรเลือกพิจารณาปัจจัย ข้อดีและข้อเสียต่างๆ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายขององค์กรได้ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
1.เพิ่มความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
2.ลดต้นทุน จ่ายค่าจ้างตามระยะเวลาการจ้าง
3.เพิ่มประสิทธิภาพให้งาน
ขอยกตัวอย่างสถานการณ์การจ้างงาน “พนักงานชั่วคราว” เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน
-
- การจ้างนักออกแบบกราฟิกฟรีแลนซ์ เพราะแทนที่จะจ้างนักออกแบบกราฟิกประจำ องค์กรสามารถเลือกจ้างนักออกแบบกราฟิกฟรีแลนซ์เพื่อให้ออกแบบโลโก้ โปสเตอร์ อินโฟกราฟิก เว็บไซต์ และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ
ข้อดี:
-
- ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างงาน
- เข้าถึงงานออกแบบที่มีสไตล์หลากหลาย
- นักออกแบบมีประสบการณ์
- จ่ายค่าจ้างเฉพาะงานที่ต้องการ
แต่ในส่วนที่เป็นข้อควรพิจารณา จะมีในส่วนของ :
-
- แรงจูงใจในการทำงานที่น้อยกว่า อาจส่งผลถึงประสิทธิภาพของงาน
- อัตราค่าจ้างสูง หากเทียบกับการจ้างพนักงงานประจำ (ต่อเดือน)
- การจ้างพนักงานชั่วคราวไม่จำเป็นต้องมีสัญญาจ้างงาน ซึ่งอาจทำให้โดนเบี้ยวงานได้
ดังนั้นแล้ว แต่ละองค์กรควรมีข้อพิจารณาของความเหมาะสม ปัจจัยต่างๆ ก่อนตัดสินใจว่าควรจ้างพนักงานชั่วคราว เช่น ลักษณะงาน ระยะเวลาการจ้างงาน ทักษะที่ต้องการ และเงื่อนไขต่างๆ ที่ต้องทำข้อตกลงระหว่างกันให้ชัดเจน
บทความที่เกี่ยวข้อง: สัญญาจ้างงานมีผลต่อเงินค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างหรือไม่ อย่างไรลักษณะงานแบบไหนที่ควรจ้าง “พนักงานชั่วคราว”
1. ประเภทธุรกิจที่มีความผันผวนสูง อย่าง ธุรกิจโรงแรมที่มักจะมีช่วง High and Low season ที่จำเป็นต้องจ้างพนักงานชั่วคราวเข้ามาในช่วงที่เป็นฤดูท่องเที่ยว แต่ก็อาจจะไม่ได้มีความจำเป็นต้องจ้างพนักงานชั่วคราวเป็นพนักงานประจำ
อย่างเช่น
-
- พนักงานต้อนรับ : ทำหน้าที่ต้อนรับและให้บริการลูกค้า , คอยตอบคำถามเกี่ยวกับโรงแรมและบริการต่างๆ , เช็คอิน เช็คเอาท์ลูกค้าหรือการจองห้องพัก พร้อมดูแลความเรียบร้อยของล็อบบี้
- พนักงานทำความสะอาด : ทำหน้าที่ทำความสะอาดห้องพัก ห้องน้ำ พื้นที่ส่วนกลาง และสุขอนามัยของโรงแรม
2. ธุรกิจขนาดเล็กหรือ Startup การจ้างพนักงานชั่วคราวมักได้รับความนิยมมากในงานลักษณะนี้ เพราะธุรกิจประเภทนี้มักต้องมีการออกงาน Event อยู่นานๆ ครั้ง การเลือกจ้างพนักงานชั่วคราว ให้มายืนประจำบูธ , แจกใบปลิว , พิธีกร MC จึงเป็นทางเลือกที่ดีเพราะมีความยืดหยุ่นเรื่องเวลาสูง ช่วยลดต้นทุนได้เยอะ และเพิ่มเวลาให้พนักงานประจำได้โฟกัสที่งานเป็นหลัก
สรุป
แม้ว่าการจ้างงานพนักงานชั่วคราวจะดูเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับองค์กรที่ต้องการลดค่าใช้จ่าย แทนการจ้างงานพนักงานแบบเต็มเวลา แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาร่วม
ก่อนที่องค์กรหรือธุรกิจใดจะตัดสินใจจ้างงานพนักงานชั่วคราว จำเป็นต้องทำข้อตกลงระหว่างกันให้ชัดเจน เพราะการจ้างงาน พนักงานชั่วคราว ในบางลักษณะงานไม่ได้จำเป็นต้องมี “หนังสือสัญญาจ้างงาน” ที่ชัดเจน
ทั้งนี้ องค์กรควรเลือกจ้างงานที่เหมาะสมกับประเภทธุรกิจ ลักษณะงานเป็นโปรเจคต์ มีระยะเวลากำหนดชัดเจน หรือขอบเขตเงื่อนไขอื่นๆ และสถานการณ์ทางการเงินขององค์กร เพื่อช่วยให้องค์กรยังสามารถเติบโตและก้าวไปข้างหน้าได้ โดยไม่สูญเสียเงินอย่างเปล่าประโยชน์จากการจ้างงานพนักงานชั่วคราว
Marketing สาวที่ถูกแมวส้มเก็บมาเลี้ยง