fbpx

สัญญาจ้างงานมีผลต่อเงินค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างหรือไม่ อย่างไร

เลิกจ้าง-จ่ายค่าชดเชย

สัญญาจ้างงานแบบไหน กรณีเลิกจ้าง จ่ายค่าชดเชยอย่างไร?

ในช่วงที่ผ่านมา มักจะมีปัญหาเรื่องเงินค่าชดเชยระหว่างบริษัทและพนักงานที่เกิดขึ้นมากมาย เนื่องจากหลายๆบริษัทอาจจะไม่เคยคิดถึงค่าใช้จ่ายทางด้านนี้ จึงไม่ได้สำรองงบประมาณในส่วนนี้เอาไว้เผื่อ ประกอบกับสถานการณ์โรคโควิด-19 ทำให้นายจ้างประสบปัญหาทางการเงิน ทำให้หลายๆบริษัทเลี่ยงที่ไม่จ่ายเงินค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้าง และกลายเป็นคดีฟ้องร้องไปมาระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง ดังนั้นในวันนี้ทาง RLC Outsourcing จึงได้รวบรวมเกร็ดความรู้เรื่องการจ่ายเงินค่าชดเชยตามประเภทสัญญาจ้างงานมาฝากผู้อ่าน เพื่อให้นายจ้างเข้าใจถึงข้อกฎหมายแรงงานและปฎิบัติกับลูกจ้างได้อย่างถูกต้อง ซึ่งสุดท้ายแล้วจะส่งผลดีต่อทั้งลูกจ้างและนายจ้างเอง

สัญญาจ้างงานคืออะไรและแบ่งเป็นกี่ประเภท?

สัญญาจ้างงานคืออะไร? ตามกฎหมาย พรบ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ได้บัญญัติไว้ว่า ในการจ้างงานระหว่าง “ผู้ว่าจ้าง” และ “ลูกจ้าง” ที่ตกลงไว้ว่า ลูกจ้างจะตกลงทำงานหรือใช้แรงงานให้แก่นายจ้าง ซึ่งนายจ้างจะจ่ายค่าตอบแทนให้ โดยไม่ว่าจะตกลงกันผ่านวาจา หนังสือแบบลายลักษณ์อักษร หรือ เกิดขึ้นโดยปริยาย เพียงเท่านี้ก็ถือว่ามีสัญญาจ้างแรงงานเกิดขึ้นแล้ว 

ในปัจจุบัน องค์กรหรือบริษัทส่วนใหญ่ มักจะทำสัญญาจ้างงานแบบเป็นหนังสือลายลักษณ์อักษร เพื่อหากมีปัญหาระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง จะได้มีหลักฐานเพื่อชี้แจงทางกฎหมายกันได้ และจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ สัญญาจ้างแรงงานแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา และ สัญญาจ้างแรงงานแบบกำหนดเวลาชัดเจน  ซึ่งสัญญาจ้างทั้งสองกรณีดังกล่าวปรากฎใน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 มาตรา 17  ซึ่งกำหนดไว้เกี่ยวกับกรณีการสิ้นสุดสัญญาจ้างและการบอกล่าวล่วงหน้า

สัญญาจ้างแรงงานแบบไม่มีกำหนดระยะเวลา เป็นอย่างไร?

หากจะให้เข้าใจง่าย นั่นก็คือ สัญญาจ้างโดยทั่วๆไปที่ให้พนักงานประจำเซ็นกันนั่นแหล่ะค่ะ ที่นายจ้างสามารถยืดหรือหดระยะเวลาการทำงานของลูกจ้างออกไปได้ โดยสัญญาประเภทนี้จะมีการทดลองงานด้วย

หากบริษัทเลิกจ้างต้องจ่ายเงินค่าชดเชยอย่างไร?

อัตราการจ่ายเงินเงินค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างจะแตกต่างกันไปตามลักษณะสัญญาจ้าง ดังนี้

1.สัญญาจ้างแรงงานแบบไม่กำหนดระยะเวลา (Permanent Contract)

เมื่อบริษัทหรือองค์กรเลิกจ้าง ต้องจ่ายค่าชดเชยดังต่อไปนี้

อายุงาน 120 วัน หรือมากกว่า แต่ไม่ถึง 1 ปี
1-3 ปี
3-6 ปี
6-10 ปี
10-20 ปี
จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 180 วัน
จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 240 วัน
จ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน

จากตารางข้างต้น ผู้อ่านจะสังเกตเห็นว่า ตามกฎหมายต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อพนักงานทำงานเกิน 120 วัน แต่ถ้าหากพนักงานทำงานไม่ถึง 120 วัน บริษัทจะต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่? 

ในข้อกฎหมายไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะต้องมีช่วงทดลองงาน (90-120 วัน แล้วแต่บริษัทกำหนด) เพียงแต่ระบุว่า หากพนักงานทำงานติดต่อกันเกิน 120 วัน บริษัทต้องจ่ายค่าตอบแทนตามที่กำหนดให้กับพนักงาน

ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 17 ซึ่งระบุเกี่ยวกับเรื่องการสิ้นสุดของสัญญาจ้างแรงงาน กรณีการจ้างงานแบบประจำ ที่ไม่มีการระบุวันสิ้นสุดสัญญาจ้างที่ชัดเจน ดังนั้น ก็หมายความว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อบริษัทหรือพนักงานบอกเลิกสัญญา โดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือหรือวาจาให้อีกฝ่ายรับทราบก่อนเป็นเวลา 1 เดือนก่อนที่เงินเดือนจะออกในรอบต่อไป

แต่ถ้าหากไม่มีการบอกล่วงหน้า กฎหมายระบุว่า ต้องมีการจ่ายเงินชดเชย ซึ่งเป็นจำนวนเงินเท่ากับเงินเดือนงวดสุดท้ายพร้อมค่าตกใจ แต่จำนวนเงินที่เป็นค่าตกใจนี้ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละบริษัท 

แต่ถ้าบริษัทบอกล่วงหน้าก่อน 1 เดือน ว่าไม่ผ่านการทดลองงาน และให้ทำงานต่อจนครบสัญญาหรือครบ 120 วัน จึงพ้นสภาพการเป็นพนักงาน บริษัทก็ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย หรือค่าตกใจใดๆให้กับพนักงาน เพราะมีการบอกกล่าวล่วงหน้าแล้วนั่นเอง

2.สัญญาจ้างแรงงานแบบกำหนดระยะเวลาชัดเจน (Contract)

เพื่อนๆหลายคนมักเข้าใจผิดว่าการจ้างงานแบบสัญญาจ้าง (Contract) เมื่อถูกเลิกจ้าง ไม่สามารถเรียกร้องค่าชดเชยได้เนื่องจากไม่ใช่พนักงานประจำ แต่ในความเป็นจริงแล้ว พนักงานแบบสัญญาจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างก็สามารถเรียกร้องเงินค่าชดเชยได้เช่นเดียวกับพนักงานประจำ

เมื่อบริษัทหรือองค์กรเลิกจ้างหลังจากที่ลูกจ้างทำงานได้สักพัก แต่ยังไม่ครบตามกำหนดของสัญญาจ้าง เมื่อเป็นเช่นนี้ บริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยให้พนักงาน เท่ากับ จำนวนเดือนที่เหลือ x ค่าจ้างในแต่ละเงินเดือน เช่น

นายต้อย ทำสัญญาจ้างงานกับบริษัท RLC Outsourcing ด้วยสัญญาจ้างระยะเวลา 1 ปี เงินเดือน 15,000 บาท เมื่อถึงจุดหนึ่ง บริษัทมีความจำเป็นต้องเลิกจ้างนายต้อยในเดือนที่ 6 นั่นหมายความว่าบริษัทต้องจ่ายค่าชดเชยให้นายต้อยเป็นจำนวน 

= (6) จำนวนเดือนที่เหลือ x (15,000) ค่าจ้างในแต่ละเงินเดือน 

= 90,000 บาท

แต่ถ้าหากมีการต่อสัญญากันไปเรื่อยๆในปีที่ 2,3,4 แล้วบริษัทมีความต้องการที่จะเลิกจ้างลูกจ้าง จะต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงานเหมือนกับ สัญญาจ้างงานแบบไม่กำหนดระยะเวลา เพราะตามกฎหมายเมื่อมีการต่อสัญญากันไปตั้งแต่รอบที่ 2 สัญญานั้นจะกลายเป็นสัญญาแบบไม่กำหนดระยะเวลานั่นเอง โดยจะจ่ายอัตราค่าชดเชยเหมือนตารางข้างต้น

โดยตามมาตรา 9 แห่ง พรบ. คุ้มครองแรงงานฯ กล่าวคือ บริษัทจะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่พนักงานในวันที่เลิกจ้างและไม่สามารถผ่อนชดเชยเป็นงวดๆได้ มิฉะนั้นจะต้องจ่ายดอกเบี้ยในส่วนที่ค้างจ่ายค่าชดเชย ร้อยละ 15 ต่อปี แต่เนื่องจากหลายๆบริษัทอาจจะประสบปัญหาด้านงบประมาณในส่วนนี้ ดังนั้นจึงมีข้อเสนอแนะออกมาว่านายจ้างสามารถผ่อนชำระค่าชดเชยเป็นงวดได้หรือไม่ จากตรงนี้ นายจ้างสามารถผ่อนชำระได้หากลูกจ้างมีการยินยอม เพราะการตกลงผ่อนจ่ายไม่ใช่ข้อตกลงว่าไม่จ่าย และหากตกลงผ่อนชำระแล้วไม่ชำระตามที่ตกลงกันลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าชดเชยนั้นได้ (อ้างอิงจากคำพิพากษาฎีกาที่ 15780/2555)

สรุป

กฎหมายกำหนดให้บริษัทต้องจ่ายเงินค่าชดเชยให้พนักงานเมื่อมีการเลิกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นการเลิกจ้างแบบใด หากค้างชำระจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี โดยในสัญญาจ้างงานแบบกำหนดระยะเวลา (เช่น สัญญาจ้างงาน 1 ปี) และแบบไม่ได้กำหนดระยะเวลา ( เช่น สัญญาจ้างพนักงานประจำทั่วไป) จะมีอัตราการจ่ายค่าชดเชยที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับระยะเวลาของสัญญา การต่อสัญญา หรือระยะเวลาทำงานของลูกจ้างแต่ละรายด้วย เพื่อไม่ให้ทางบริษัทมีปัญหาในภายหลัง จึงควรปฎิบัติตามกฎหมาย หรือหากอยากให้ RLC Outsourcing ช่วยดูแลงานทางด้าน HR สามารถติดต่อเราเข้ามาได้เลยค่ะ เรายินดีให้คำปรึกษาที่เหมาะสมกับองค์กรของท่าน

Leave a Reply

Your email address will not be published.