fbpx

การบริหารแบบ Micromanagement ปังหรือแป้ก สำหรับธุรกิจของคุณ?

Micromanagement ปังหรือแป้ก

เรื่องการบริหารงานแบบ Micromanagement เป็นประเด็นที่มีการถกเถียงกันมาหลายปี ว่ามันดีหรือไม่ ดังนั้นเราจะพาผู้อ่านมาดูกันว่าลักษณะการบริหารงานแบบ Micromanagement คืออะไร และข้อดีข้อเสียของมันเป็นอย่างไร เพื่อให้คุณได้ตัดสินใจว่าการบริหารงานแบบนี้เหมาะกับธุรกิจของคุณหรือเปล่า

What is micromanagement

การบริหารงานแบบ Micromanagement คืออะไร?

Micromanagement คือการบริหารจัดการโดยมุ่งเน้นถึงการควบคุม โดยใส่ใจเนื้องานในทุกรายละเอียดและทุกด้าน ซึ่งเป็นงานที่สามารถทำให้เสร็จได้เพียงคนๆเดียว หรือคนในทีม การบริหารงานแบบนี้อาจจะมองว่าเป็นข้อดีเพราะช่วยให้แน่ใจว่างานจะเสร็จตรงเวลาและได้มาตรฐาน หรืออาจจะมองว่าเป็นข้อเสียเพราะนั่นส่งผลให้พนักงานรู้สึกถึงความจู้จี้จุกจิกหรือเกิดความกดดัน

Micromanagement Style, Helpful or Harmful

การบริหารแบบ Micromanagement ปังหรือแป้ก

หลายคนก็มีความคิดเห็นที่ต่างกันเกี่ยวกันการบริหารงานแบบ Micromanagement ว่ามันดีหรือไม่ดีต่อธุรกิจ บางคนก็รู้สึกว่ามันจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่างานจะเสร็จและได้ประสิทธิภาพ ในขณะที่บางคนเชื่อว่าการบริหารงานเช่นนี้ก่อให้เกิดความรู้สึกว่าทำงานหนักและเกิดความเครียด แล้วมันดีหรือไม่ดีต่อธุรกิจล่ะ?

หนึ่งในข้อดีหลักๆ ของการบริหารงานแบบ Micromanagement คือการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของงาน เมื่อพนักงานทราบว่าตนเองถูกเฝ้ามองอย่างใกล้ชิด พวกเขายิ่งต้องทำงานให้หนักขึ้นและทำงานให้เสร็จตรงเวลา นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เร่งรีบโดยมี deadlines หรือการกำหนดเวลาส่งงาน

อีกประการคือสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ นี่อาจช่วยเมื่อมีการทำงานร่วมกันหลายส่วนและคุณอยากเพิ่มความมั่นใจว่ารายละเอียดงานทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่ได้จัดเตรียมไว้ การมีใครสักคนที่คอยตรวจเช็คความเรียบร้อยจะช่วยเรื่องการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันท่วงที

แต่ถึงอย่างนั้น ก็มีหลายๆ ความเห็นที่โต้กลับเกี่ยวกับการบริหารงานแบบ Micromanagement ว่าปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของการบริหารงานแบบนี้คือ ความจู้จี้จุกจิก หรือการถูกจับตามอง ที่ส่งผลให้พนักงานเกิดความเครียดและความรู้สึกเหมือนตนเองทำงานหนัก กระทั่งนำไปสู่ความไม่พอใจท่ามกลางเหล่าพนักงาน ซึ่งพนักงานบางคนอาจจะรู้สึกเหมือนไม่ได้รับความไว้เนื้อเชื่อใจพอที่จะทำงานนั้นๆ ด้วยตนเอง

How to tell if you are a micromanager

จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณเป็นคนผู้บริหารแบบ Micromanagement

สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณเป็นผู้บริหารแบบ Micromanagement มีดังนี้

  • คุณรู้สึกอยากควบคุมทุกอย่างและทุกคนอยู่ตลอดเวลา
  • คุณเชื่อใจคนยากและไม่ค่อยวางใจที่จะมอบหมายงานให้แก่คนอื่น
  • คุณใส่ใจรายละเอียดมากกว่าที่จะมองภาพกว้าง
  • คุณมักแสดงความเห็นและวิจารณ์พนักงานของคุณ
  • คุณพบว่าตัวเองคอยตรวจสอบผู้คนและงานของพวกเขาอยู่เสมอ

ถ้าคุณพบว่าตัวเองแสดงพฤติกรรมเหล่านี้ อาจถึงเวลาที่จะประเมินรูปแบบการทำงานของคุณใหม่ การบริหารงานแบบ Micromanagement อาจเป็นผลเสียต่อคุณและเพื่อนร่วมงานของคุณ ในเรื่องของประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง ความเครียดที่สูงขึ้น ความรู้สึกทั่วไปว่างานหนักและผลลัพธ์ไม่เต็มประสิทธิภาพ การเรียนรู้ที่จะปล่อยวางและการเชื่อใจให้ผู้อื่นได้ทำงานเป็นสิ่งสำคัญหากคุณอยากเป็นผู้นำที่ดี

How to avoid being a micromanager

ทำยังไงถ้าไม่อยากเป็นผู้บริหารแบบ Micromanagement

การ Micromanagement มักจะถูกมองว่าเป็นเรื่องไม่ดีต่อธุรกิจ แต่มันไม่ใช่เรื่องแย่เสมอไป ถ้าหากคุณเป็นผู้บริหารแบบ Micromanagement ก็สามารถหาทางเลี่ยงไม่ให้ตัวเองเจ้ากี้เจ้าการมากจนเกินไปแต่ก็ยังสามารถทำงานให้สำเร็จได้

Tips:

  • มอบหมายและวางใจให้คนในทีมได้ทำงานนั้น เป็นการช่วยลดความกดดันและให้คุณได้โฟกัสงานส่วนอื่น
  • ตั้งเป้าหมายให้ทีมของคุณให้ชัดเจน เพื่อจะได้รู้และไม่ต้องเดาว่าความต้องการที่แท้จริงคืออะไร
  • ให้ความเห็นแก่ทีมของคุณเพื่อที่พวกเขาจะได้รู้ว่าต้องทำอย่างไรและบรรลุจุดประสงค์แล้วหรือยัง

Tips ข้างต้นจะช่วยให้เลี่ยงการ Micromanage ที่มากเกินไปแต่ยังทำงานได้สำเร็จลุล่วงอีกด้วย

สรุปบทความ:

การจะตัดสินว่าการบริหารงานแบบ Micromanagement เป็นเรื่องดีหรือไม่ดีต่อธุรกิจนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย มันอาจจะดีก็ได้ถ้าหากทุกคนเข้าใจตรงกัน แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารงานแบบนี้อาจเป็นสิ่งที่ขัดขวางความคิดสร้างสรรค์และความยืดหยุ่นในการทำงาน ดังนั้น กุญแจสำคัญคือการสร้างสมดุลระหว่างการบริหารแบบเจาะ ใส่ใจทุกรายละเอียดกับการบริหารแบบมองภาพกว้าง และรู้ว่าเมื่อใดควรเข้าไปจัดการแบบเฉพาะด้านและเมื่อใดควรปล่อยให้พนักงานได้คิดและทำตามวิธีของตนเอง แล้วคุณล่ะ คิดว่าการบริหารงานแบบ micromanagement ปังหรือแป้กต่อธุรกิจของคุณ?

Leave a Reply

Your email address will not be published.