หลาย ๆ คนคงเคยได้ยินหรือพบประสบการณ์อาการ หมดไฟในการทำงานด้วยตัวเอง อย่างความรู้สึกที่ไม่อยากตื่นมาทำงาน ไม่อยากสื่อสารกับใคร ซึ่งเป็นสภาวะหนึ่งทางอารมณ์ที่เป็นผลมาจากความเหนื่อยล้าที่สะสม รวมไปถึงความเครียดและความกดดันต่าง ๆ จากสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ซึ่งในปัจจุบันได้พบว่าพนักงานในองค์กรทุกระดับได้เผชิญสภาวะหมดไฟในการทำงานเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จากรูปแบบการทำงานในยุคนี้ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และส่งผลให้การทำงานนั้นมีความไม่แน่นอนสูง
HR ก็มีภาวะหมดไฟในการทำงาน อาการที่ไม่ใช่แค่พนักงานทั่วไปที่เป็น
HR หมดไฟเพราะเป็นตำแหน่งงานที่เหนื่อยกว่าที่คนอื่นคิด
เมื่อพูดถึงงาน HR (Human Resources) คนทั่วไปอาจนึกถึงภาพของคนที่ทำหน้าที่สัมภาษณ์งาน จัดฝึกอบรม หรือดูแลสวัสดิการพนักงาน และทำงานเอกสารเพียงเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น แต่ในความเป็นจริง งาน HR นั้นมีความซับซ้อนกว่าที่หลายคนคิด เพราะในการทำงานของ HR จะต้องเป็นคนรับผิดชอบทั้งในเรื่องของ “คน” และ “ผลงาน” ในเวลาเดียวกัน คือ การที่ต้องดูแลพนักงานและนำพาบริษัทมุ่งสู่เป้าหมายทางธุรกิจได้สำเร็จ ซึ่งเป็นสิ่งที่จัดการได้ยากในการทำงานในด้าน HR และนี่ อาจเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ HR หมดไฟ
สัญญาณเตือนว่า HR กำลังหมดไฟในการทำงาน
หากคุณมีความรู้สึกที่ไม่ดีในการทำงาน มีความรู้สึกเบื่อ ไม่อยากไปทำงานอย่างไม่มีสาเหตุ อาจไม่ใช่แค่ความเหนื่อยล้าชั่วคราว แต่อาจเป็นสัญญาณของภาวะหมดไฟในการทำงานด้าน HR ที่ไม่ควรปล่อยผ่าน โดยเฉพาะพนักงาน HR ที่ต้องดูแลคนอื่น แต่กลับมองข้ามสัญญาณเตือนของตัวเองที่ต้องรีบสังเกตและจัดการก่อนจะสายเกินไป เราจะพาคุณไปรู้จัก
5 สัญญาณเตือนที่สำคัญ เพื่อให้ HR ที่หมดไฟได้หยุดฟังเสียงของร่างกายและจิตใจตัวเองอีกครั้ง
- รู้สึกเหนื่อยล้าแม้จะได้พักเต็มที่ เกิดจากการที่ร่างกายและจิตใจกำลังตกอยู่ในภาวะเหนื่อยล้าสะสม โดยเฉพาะฝ่าย HR ที่มีงานล้นมือ อาจเจออาการนี้ได้บ่อยจากการทำงาน Routine ที่เป็นต้นเหตุให้ HR หมดไฟ
- ขาดแรงบันดาลใจและหมดความรู้สึกตื่นเต้นกับงาน เป็นอีกหนึ่งสัญญาณของภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้น Burnout ด้าน “Emotional Exhaustion”
- เริ่มมองโลกในแง่ร้ายเกี่ยวกับงานและคนรอบข้าง หรือมีความรู้สึกเบื่อหน่ายและหมดศรัทธา ซึ่งเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญที่ร่างกายพยายามสื่อสารให้เราได้รู้ถึงภาวะหมดไฟ
- สมาธิสั้น มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นบ่อย เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าสมองมีการทำงานเกินขีดจำกัดมาเป็นเวลานาน ซึ่งจะส่งผลต่อกระบวนการคิดวิเคราะห์โดยตรง และหากอาการนี้ได้เกิดกับ HR ที่หมดไฟจะเกิดผลกระทบมากมายที่ตามมา เช่น การทำ Payroll ผิดพลาด, มีการตัดสินใจที่ไม่เฉียบขาด, จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ขาด ๆ เกิน ๆ เป็นต้น
- สุขภาพกายเริ่มมีปัญหา เมื่อ HR หมดไฟในการทำงาน หรือเกิดอาการเครียดเรื้อรัง จากความกดดันต่าง ๆ และภาระงานที่มากมาย ส่งผลให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเครียด ซึ่งจะทำให้ภูมิคุ้มกันแปรปรวน และทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา ซึ่งอาจเป็นผลให้ HR ลาออกและเกิดผลกระทบด้านลบอีกมากมายกับองค์กร
หาต้นเหตุของอาการที่ HR Burnout ให้เจอ
งาน Routine ล้นมือ จัดการคนเดียวไม่ไหว ส่งผลให้ HR หมดไฟ
ถึงแม้ว่า HR จะมีบทบาทเชิงกลยุทธ์มากขึ้นในยุคปัจจุบัน แต่งาน Routine ยังคงเป็นภารกิจสำคัญที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และต้องทำอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อให้กระบวนการภายในองค์กรดำเนินไปอย่างราบรื่น โดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กถึงกลาง HR มักต้องเหมาทุกบทบาทคนเดียว ตั้งแต่การสรรหาพนักงานใหม่ ดูแลพนักงานปัจจุบัน ไปจนถึงเรื่องระบบเงินเดือนและการทำเอกสารราชการต่าง ๆ ของพนักงาน เป็นงานที่อาจทำให้ HR หมดไฟ
ซึ่งงานเหล่านี้ล้วนมีความสำคัญแต่กินเวลามหาศาล เพราะเป็นงานที่ต้องการความแม่นยำสูง ทำให้ในหลาย ๆ ครั้ง HR มีภาระงานที่ล้นมือ ยากที่จะจัดการให้เสร็จสิ้นทันเวลา ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเชื่อมั่นของพนักงาน เช่น ทำให้การจ่ายค่าตอบแทนพนักงานล่าช้า พนักงานต่างชาติไม่สามารถต่อใบอนุญาตทำงานหรือวีซ่าได้ทันเวลา เป็นต้น
HR หมดไฟเพราะรับแรงกดดันจากทั้งฝ่ายบริหารและพนักงาน
จากที่กล่าวไปข้างต้นว่า HR นั้นจะต้องรับผิดชอบทั้งในเรื่องของ “คน” และ “ผลงาน” ในเวลาเดียวกัน ทำให้ HR เป็นเหมือน “คนกลาง” ที่แบกความคาดหวังจากทุกฝ่าย ซึ่งต้องทำหน้าที่บาลานซ์ความต้องการที่มักขัดแย้งกันระหว่าง “ฝ่ายบริหาร” กับ “พนักงาน” ซึ่งการที่ต้องไกล่เกลี่ยและตัดสินใจท่ามกลางแรงกดดันจากทุกทิศทาง ทำให้งาน HR เต็มไปด้วยความตึงเครียดและส่งผลในด้านลบต่อสภาวะทางจิตใจเป็นอย่างมาก และเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลอย่างมากที่ทำให้ HR หมดไฟในบริษัทหลาย ๆ แห่ง
วิธีรับมือสำหรับคนทำงานเมื่อ HR หมดไฟ
ปรับมุมมอง และแบ่งภาระที่หนักเกินไป
อย่างที่ได้กล่าวไปว่างาน HR นั้นจะต้องรับมือกับแรงกดดันจากภาระงานต่าง ๆ และฝ่ายบริหารอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้ HR หมดไฟได้ ดังนั้นจึงควรหาวิธีการจัดการหรือวิธีรับมือกับแรงกดดันที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งจะต้องมีการปรับมุมมอง เปลี่ยนความคิด ในการทำงานหลาย ๆ ด้าน เช่น ลองมองแรงกดดันให้เป็น “บทเรียน” แทนที่จะหนี ให้ลองหันกลับมาถามตัวเองดูว่า “เราจะได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องนี้ ?” เพราะแรงกดดันทุกอย่างที่เรากำลังเผชิญ อาจเป็นบทเรียนสำคัญให้เราพร้อมก้าวต่อได้
นอกจากนี้การไม่นำความคิดในแง่ลบมาใส่ใจ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการรับมือที่ดีเมื่อทำงาน HR ที่ต้องเป็นปราการระหว่างพนักงานและฝ่ายบริหาร ควรกล้าที่จะปรึกษาและขอความร่วมมือภายในฝ่าย HR ด้วยกันเอง รวมไปถึงการที่ต้องกล้าที่จะพูดคุยชี้แจงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรือเรื่องของภาระงานที่หนักเกินไปให้กับทางฝ่ายบริหารได้เข้าใจและร่วมกันหาวิธีจัดการแก้ไขต่อไป
ลองมองหาตัวช่วยให้ทำงานได้เร็วขึ้น อย่าง HR Outsourcing
หากคุณกำลังพบว่าตนเองมีสัญญาณว่ากำลังเข้าสู่ภาวะหมดไฟในการทำงานและได้ลงมือแก้ไขปัญหาทุกวิถีทางที่สามารถทำได้แล้ว แต่สถานการณ์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง เราอยากบอกว่าไม่ใช่เพราะคุณไม่เก่ง แต่เพราะคุณ “มีภาระงานที่เกินกำลังคนคนเดียวจะทำไหว” ซึ่งทางออกไม่ได้มีแค่ “อดทน” หรือ “ลาออก” แต่คือการมองหาตัวช่วยอย่าง บริษัท HR Outsourcing ชั้นนำของประเทศไทยที่ดูแลและให้บริการด้านทรัพยากรบุคคลที่ครอบคลุมและมีบริการ HR ครบครันอย่าง RLC Outsourcing
ถ้าคุณอยากกลับมาโฟกัสงานหลัก HR ที่มุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรเพิ่มมากขึ้น ลองมองหาผู้ให้บริการด้าน HR Outsource อย่าง RLC Outsourcing มาช่วยดูแลเรื่องงานจัดทำเงินเดือนพนักงาน ระบบเข้าออกงาน บริการขอวีซ่าและใบอนุญาตทำงานชาวต่างชาติ และบริการให้คำปรึกษาด้านทรัพยากรมนุษย์ให้กับธุรกิจในไทยและข้ามชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย พร้อมสนับสนุนด้านการจัดทำเอกสารของฝ่าย HR อย่างครบวงจร ที่เข้ามาเพื่อตอบโจทย์และแบ่งเบาภาระงานบริหารทรัพยากรบุคคลในยุคปัจจุบันและอนาคตอย่างแท้จริง
บุคลิกที่เป็น เสื้อผ้าที่ใส่ ขึ้นอยู่กับว่า วันนั้นฟังเพลงอะไร ;P