fbpx

ไข 7 ข้อสงสัย “สลิปเงินเดือน” ที่มนุษย์เงินเดือนต้องรู้

ไข7ข้อสงสัย สลิปเงินเดือน

คงไม่มีพนักงานคนไหนที่ทำงานได้รับเงินเดือนทุกเดือน แล้วไม่อยากรู้ที่มาที่ไปเงินเดือนของตัวเองอย่างแน่นอน  แม้ว่าเดือนนั้นคุณจะได้เงินเท่าเดิม แต่ถ้ามีสักเดือนที่เงินเดือนคุณหายไป ได้ไม่เท่าเดิม  สุดท้ายแล้วคุณก็ต้องไปขอสลิปเงินเดือนจากทีม HR  เพื่อตรวจสอบเงินเดือนอยู่ดีใช่ไหมล่ะ?

ดังนั้นวันนี้ จะขอพาคุณผู้อ่านเหล่ามนุษย์เงินเดือนทั้งหลาย น้องใหม่พึ่งเริ่มทำงาน มาทำความรู้จักสลิปเงินเดือน หรือ Pay Slip  คืออะไร เข้าใจว่า ทำไมควรได้รับสลิปเงินเดือนทุกเดือน และถ้าไม่มีสลิปเงินเดือนต้องทำอย่างไร? ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลมาให้แล้วไปตามอ่านกันได้เลยจ้าา

1.สลิปเงินเดือน คืออะไร

สลิปเงินเดือน หรือ Pay Slip คือเอกสารที่แสดงรายได้สุทธิที่คุณจะได้รับ โดยบริษัทที่สังกัดจะเป็นผู้ออกให้ในแต่ละเดือน ซึ่งภายในสลิปเงินเดือนจะมีการแจกแจงข้อมูลรายรับ-รายจ่ายที่หักออกอย่างครบถ้วนและถูกต้อง เช่น

1. ข้อมูลรายรับ : เงินเดือน ค่าล่วงเวลา (OT) ค่าคอมมิชชั่น โบนัส และรายรับอื่นๆ
2. ข้อมูลรายจ่ายที่ถูกหักออก : ค่าประกันสังคม ค่าหักภาษี ณ ที่จ่าย รวมถึงกยศ. (กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา) และค่าอื่นๆ ตามเงื่อนไขบริษัทหรือตามกฏหมาย

สลิปเงินเดือน2

2.สลิปเงินเดือน บริษัทควรออกให้พนักงาน ก่อนหรือหลังจากได้รับเงินเดือนแล้ว?

การออกสลิปเงินเดือนให้แก่พนักงาน บริษัทควรจะต้องออกให้ก่อนเงินเดือนออกเพื่อให้พนักงานตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและสามารถแก้ไขข้อมูลก่อนพนักงานได้รับเงินเดือน

แต่ทั้งนี้ หลายๆ บริษัทมักให้สลิปเงินเดือนหลังจากจ่ายเงินเดือนไปแล้ว ซึ่งหากมีข้อผิดพลาดของเงินเดือนและต้องมีการแก้ไข เงินเดือนส่วนต่างที่เกิดจากการคำนวณผิดพลาด มักจะถูกคืนให้ในรอบเงินเดือนถัดไป

แต่ทั้งนี้ เพื่อลดการคำนวณเงินเดือนที่ผิดพลาด และสามารถดำเนินการจ่ายเงินเดือนได้ทันรอบ มีสลิปเงินให้พนักงานได้ตรวจสอบก่อนการจ่ายเงินเดือน การใช้บริการ RLC Payroll Outsourcing  ก็เป็นอีกตัวเลือกที่ดีในการแก้ไขปัญหาส่วนนี้

RLC Banner_Payroll

3.สลิปเงินเดือนมีกี่แบบ

ในปัจจุบันสลิปเงินที่นิยมใช้กันมีด้วยกัน 2 แบบ คือ

  1. สลิปเงินเดือนแบบกระดาษคาร์บอน ที่ต้องฉีกตามรอยปรุด้านซ้ายและขวา ซึ่งเป็นรูปแบบที่หลายๆ องค์กรเลือกใช้ และได้รับความเชื่อถือจากธนาคาร แต่ในการใช้สลิปเงินเดือนแบบกระดาษคาร์บอนก็มีค่าใช้จ่ายที่สูงและใช้เวลาในการพิมพ์ค่อนข้างมาก และยังต้องพึ่ง HR สำหรับแจกจ่ายเอกสารให้กับพนักงานรายคนอีกด้วย
  2. สลิปเงินเดือนแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Pay Slip) ในการบริหารงาน HR สมัยใหม่ มักที่จะเลือกใช้ระบบ Payroll Application หรือ ใช้บริการรับทำเงินเดือน ซึ่งส่วนมากแล้ว E-Pay slip จะเป็นฟังก์ช่นพื้นฐานที่จะมาพร้อมกับระบบของตัว Application อยู่แล้ว ซึ่งง่ายต่อการทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคล(HR) เพียงอัปโหลดข้อมูลเงินเดือนขึ้นระบบ E-Pay slip ยังช่วยประหยัดกระดาษและค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องคอยพิมพ์สลิปเงินเดือนออกมาเพื่อแจกให้พนักงานทีละคน เพราะสามารถ Log in เข้า Application ผ่านสมาร์ทโฟนของตัวเองเพื่อดาวน์โหลดและตรวจสอบข้อมูล ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่พนักงานจะทราบข้อมูลเงินเดือนของกันและกันอีกด้วย
บทความที่เกี่ยวข้อง: เปรียบเทียบ โปรแกรมทำเงินเดือน vs บริการรับทำเงินเดือน แบบไหนที่เหมาะกับองค์กรของคุณ

4.สลิปเงินเดือน ประกอบด้วยข้อมูลอะไรบ้าง?

  1. รอบเงินเดือน (Period) หมายถึง รอบเดือนหรือระยะเวลาของการชำระเงิน
  2. วันที่จ่าย (Pay date) หมายถึง วันที่ที่บริษัทชำระเงินให้กับพนักงาน
  3. รายละเอียดข้อมูลบริษัท
  4. ข้อมูลพนักงาน เช่น รหัสพนักงาน,ชื่อพนักงาน,แผนก / ตำแหน่ง
  5. แสดงรายการรับ (Income) จำนวน และจำนวนเงิน อย่างชัดเจน เช่น เงินเดือน, ค่าคอมมิชชั่น, ค่าตำแหน่ง,โบนัส, ค่าทำงานล่วงเวลา, รายได้พิเศษ, ค่ายังชีพ หรือรายได้ประเภทอื่นๆ ที่พนักงานได้รับจากบริษัท
  6. แสดงรายการหัก (Deduction) เช่น เงินสมทบกองทุนประกันสังคม, ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย, เงินสมทบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือรายการหักอื่นๆ ที่บริษัทหักจากเงินของพนักงานออกไป
  7. แสดงเงินรับสุทธิ (Summary) หลังลบกับรายการหัก

5.สลิปเงินเดือน สำคัญอย่างไร / ใช้ทำอะไรได้บ้าง

จากข้อมูลที่แล้วจะเห็นได้ว่า Pay Slip (สลิปเงินเดือน) มีความสำคัญสำหรับพนักงานเนื่องจากเป็นเอกสารที่สามารถ แจกแจงรายละเอียดของเงินเดือน ว่ารายได้ที่ได้รับในเดือนนั้นๆ ถูกต้องหรือไม่

ข้อสำคัญอีกอย่างของ Pay Slip คือการถูกใช้เป็นเอกสารประกอบในเอกสารสำคัญ เช่น

  1. การทำบัตรเครดิต
  2. การขอสินเชื่อ รีไฟแนนซ์ หรือกู้เงินกับธนาคาร
  3. การใช้ขอ Statement จากธนาคาร
  4. การใช้สมัครงาน
  5. การใช้เป็นหลักฐานประกอบการยื่นภาษี

ส่วนในมุมของผู้ประกอบการนั้น ในทางบัญชีถือเป็นหลักฐานแสดงรายการค่าใช้จ่ายของบริษัท นอกจากเป็นหลักฐานในการชำระค่าจ้างให้แก่พนักงาน

6.หากบริษัทไม่ให้ สลิปเงินเดือน แก่พนักงานผิดไหม?

หากพูดในแง่ของกฎหมายนั้น เอกสารสลิปเงินเดือนที่อยู่ในรูปแบบของกระดาษคาร์บอนหรือปริ้นท์ใส่กระดาษพร้อมปิดผนึกเป็นจดหมาย ไม่ได้มีข้อบังคับว่าบริษัทต้องมีให้แก่พนักงาน เพราะการออกสลิปเงินเดือนให้พนักงานดูเป็นค่าใช้จ่ายที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์  ดังนั้น บางบริษัทจึงมีสลิปเงินเดือนแบบ E-Pay Slip หรือมีนโยบายให้พนักงานสามารถขอเป็นหนังสือรับรองเงินเดือนแทน

แต่ทั้งนี้ หากบริษัทไม่มีข้อมูลการจ่ายเงินเดือนที่ชัดเจน และเงินเดือนสุทธิที่ได้รับไม่ถูกต้อง พนักงาน ‘ลูกจ้าง’ สามารถฟ้องร้องบริษัท ‘ผู้ว่าจ้าง’ ได้ตามกฎหมายแรงงาน ฉะนั้นแล้ว บริษัทเองควรจะต้องมีข้อมูลการจ่ายเงินเดือนที่ถูกต้องและชัดเจน ย่อมเป็นผลดีต่อบริษัทได้มากกว่า

บทความที่เกี่ยวข้อง: หนังสือรับรองเงินเดือนคืออะไร สำคัญอย่างไรกับมนุษย์เงินเดือน?
สลิปเงินเดือน1

7.สลิปเงินเดือนกับหนังสือรับรองเงินเดือน ต่างกับอย่างไร

หนังสือรับรองเงินเดือน หรือ ใบรับรองเงินเดือน (Certificate of Employment) คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานรับรองรายได้ของพนักงานจากบริษัท ซึ่งข้อมูลในเอกสารจะต้องระบุ รายละเอียดของบริษัท ชื่อพนักงาน ตำแหน่งงาน ระยะเวลาการทำงาน อัตราเงินเดือนก่อนหักภาษี และต้องระบุวัตถุประสงค์ของการใช้เอกสารฉบับนี้ พร้อมกับประทับตราบริษัท

ซึ่งแตกต่างจากสลิปเงินเดือน หรือ Pay Slip ที่ในเอกสารจะแสดงรายละเอียดยิบย่อยของรายได้สุทธิต่อเดือนของพนักงาน ในรูปแบบของกระดาษคาร์บอนหรือรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Pay Slip)

ตัวอย่างสลิปเงินเดือน

ตัวอย่าง สลิปเงินเดือน

สรุป

สลิปเงินเดือนเป็นเอกสารที่มีความสำคัญต่อตัวคุณที่เป็นพนักงานเได้รับเงินเดือน เนื่องจากประโยชน์ในด้านการทำธุรกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะด้านสินเชื่อ บัตรเครดิต หรืออื่นๆ ตามความต้องการ และแม้หากบริษัทไม่สามารถออกเอกสารสลิปเงินเดือนได้จริงๆ คุณสามารถยื่นเรื่องขอให้บริษัทออกเป็นเอกสารรับรองเงินเดือนแทนให้ได้เช่นกัน

และแม้ว่าบริษัทผู้เป็นนายจ้างที่ไม่ออกสลิปเงินเดือนให้พนักงานเนื่องจากไม่ข้อกฎหมายกำหนดบังคับ แต่เพื่อความชัดเจน บริษัทก็จำเป็นที่ต้องมีสลิปเงินเดือนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งที่สามารถแสดงที่มาของเงินเดือนให้แก่พนักงานเพื่อป้องกันปัญหา การฟ้องร้องใดๆ จากพนักงานในภายหลัง

Leave a Reply

Your email address will not be published.