fbpx

บริษัทจ่ายเงินเดือนช้า รู้ทันสาเหตุ 4 สาเหตุพร้อมวิธีรับมือ

บริษัทจ่ายเงินเดือนช้า รู้ทัน 4 สาเหตุพร้อมวิธีรับมือ

ในโลกของธุรกิจที่เต็มไปด้วยความท้าทาย การบริหารทรัพยากรบุคคลถือเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จ ประเด็นที่สำคัญในการรักษาพนักงาน นั่นคือ เงินเดือนและสิทธิประโยชน์ ซึ่งต้องมีการจัดทำเงินเดือน หรือเอกสารสรุปสำหรับพนักงานแต่ละคน เมื่อถึงรอบจ่ายเงินเดือนแต่ละครั้ง แต่ถ้าเกิดปัญหาในการคิดเงินเดือน เช่น ความผิดพลาดหรือการจ่ายเงินเดือนล่าช้า อาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อองค์กรได้ บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจถึงสาเหตุ ผลกระทบ และพร้อมวิธีแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ที่ผู้ประกอบการและพนักงาน HR กำลังกังวลใจในเรื่องนี้

เพราะหัวใจของการทำเงินเดือน คือความถูกต้องและความตรงต่อเวลา

การคิดเงินเดือนผิด หรือทำเงินเดือนไม่ทัน อาจส่งผลให้บริษัทจ่ายเงินเดือนช้าได้

เชื่อว่า HR หลาย ๆ ท่านคงเคยได้ยินพนักงานพูดถึงความล่าช้าของเงินเดือนว่า “เงินเดือนยังไม่เข้า” หรือ “เงินเดือนผิด” กันมาบ้างแล้ว ปัญหาเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเลย เพราะนอกจากจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อขวัญและกำลังใจของพนักงาน และยังกระทบต่อภาพลักษณ์ของบริษัทด้วย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการคิดเงินเดือนเกิดข้อผิดพลาดและล่าช้า มีดังนี้ 

สาเหตุที่ทำให้การคิดเงินเดือนเกิดข้อผิดพลาดและล่าช้า 

  1. ข้อมูลไม่ครบถ้วน: บางครั้ง HR อาจไม่ได้รับข้อมูลการทำงานล่วงเวลา (OT) หรือการลาหยุดของพนักงานอย่างครบถ้วน ทำให้การคำนวณเงินเดือนผิดพลาด
  2. ระบบการจัดการข้อมูลที่ล้าสมัย: การใช้ Excel หรือการจดบันทึกด้วยมือ อาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย และใช้เวลานานในการคำนวณ 
  3. การเปลี่ยนแปลงกฎหมายแรงงาน: กฎระเบียบเกี่ยวกับภาษีและประกันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย หากตกหล่นเรื่องการอัพเดตข้อมูลอาจส่งผลให้การคำนวณเงินเดือนผิดพลาดได้เช่นกัน 
  4. HR มีภาระงานมาก: ในบริษัทขนาดเล็กหรือ SME พนักงาน HR อาจต้องรับผิดชอบงานหลายด้าน ทั้งในฝั่งของ HRM (จัดการพนักงาน) และ HRD (พัฒนาพนักงาน) ทำให้ไม่มีเวลาเพียงพอในการตรวจสอบความถูกต้องของเงินเดือนอย่างรัดกุม 
คิดเงินเดือนผิด ทำให้บริษัทจ่ายเงินเดือนช้า แก้ยังไงดี มีตัวช่วยอะไรบ้าง?

คิดเงินเดือนผิด ทำให้บริษัทจ่ายเงินเดือนช้า แก้ยังไงดี มีตัวช่วยอะไรบ้าง?  

เมื่อเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ หลายองค์กรมองหาวิธีแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ โดยมีสองทางเลือกที่น่าสนใจ เช่น

โปรแกรมทำเงินเดือนและระบบ ESS (Employee Self-Service) 

โปรแกรมทำเงินเดือน 

ปัจจุบันมีโปรแกรมทำเงินเดือนสมัยใหม่มาพร้อมกับฟีเจอร์ที่ช่วยลดข้อผิดพลาดและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ซึ่งมีจุดเด่นหลากหลาย เช่น 

  • ระบบอัตโนมัติ: ช่วยลดความผิดพลาดจากการป้อนข้อมูลด้วยมือ  
  • การอัพเดทอัตโนมัติ: รองรับการเปลี่ยนแปลงกฎหมายภาษีและประกันสังคม  
  • รายงานที่ครอบคลุม: ช่วยในการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูล  

ระบบ ESS (Employee Self-Service) 

เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ทั้งพนักงานและ HR ที่สามารถเข้าถึงข้อมูล และการยื่นเอกสารต่าง ๆ ได้ง่าย ผ่านระบบออนไลน์ หรือแอปพลิเคชัน ซึ่งมีฟีเจอร์พื้นฐาน ดังนี้ 

  • พนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว: ช่วยลดภาระงานของ HR  
  • การยื่นคำขอออนไลน์: เช่น การลา หรือการขอเอกสารต่างๆ  
  • การเข้าถึงสลิปเงินเดือน: พนักงานสามารถดูและดาวน์โหลดสลิปเงินเดือนได้ด้วยตนเอง 

ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟแวร์หลากหลายที่ให้บริการโปรแกรมทำเงินเดือนพร้อมระบบ ESS ที่มาในแอปพลิชัน สามารถใช้งานได้สะดวกอย่าง HumanOS ที่มีฟีเจอร์หลากหลาย เช่น การลงเวลางาน คำนวณเงินเดือน ระบบลางานและยื่นเอกสารด้วยตนเอง (ESS) การทำรายงานสรุปการขาด ลา มาสาย ของพนักงาน 

บริการ Payroll Outsourcing  

การใช้บริการ Payroll Outsourcing คือการใช้บริการจัดทำเงินเดือนจากบริษัทภายนอกที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเพื่อคำนวณเงินเดือนและจัดการเอกสารต่าง ๆ ให้ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับองค์กรที่ต้องการลดภาระงานด้าน HR 

  • ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง: ผู้ให้บริการมีความรู้และประสบการณ์ในการจัดการเงินเดือน  
  • ลดความเสี่ยง: ลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดในการจัดทำเงินเดือนและปัญหาทางกฎหมาย  
  • ประหยัดเวลาและทรัพยากร: คุณสามารถโฟกัสกับธุรกิจหลักของตัวเองได้มากขึ้น  
  • ความปลอดภัยของข้อมูล: ผู้ให้บริการมักมีระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลที่ได้มาตรฐาน  
RLC Outsourcing ช่วยแก้ปัญหาบริษัทจ่ายเงินเดือนช้าให้คุณได้

RLC Outsourcing ช่วยแก้ปัญหาบริษัทจ่ายเงินเดือนช้าให้คุณได้

RLC Outsourcing เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการ Payroll Outsourcing ชั้นนำที่สามารถช่วยแก้ปัญหาการจ่ายเงินเดือนล่าช้าและข้อผิดพลาดในการคำนวณเงินเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจุดเด่นของเราคือ

ระบบการทำงานที่เป็นขั้นตอนและมีการตรวจสอบ

RLC มีระบบการทำงาน (Workflow) ที่เป็นขั้นตอนชัดเจน โดยมีการกำหนด Maker, Checker, Approver ซึ่งเป็นคนละคนกัน เพื่อให้สามารถทำตามขั้นตอนได้อย่างไม่มีปัญหา และไม่ลืมขั้นตอนที่สำคัญ:

  • Maker: ผู้จัดทำเงินเดือน รับผิดชอบในการตอบคำถามและติดตามข้อมูลจากลูกค้า จากนั้นรวบรวมข้อมูล คำนวณเงินเดือนและจัดทำรายงาน
  • Checker: ผู้ตรวจสอบ ทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและรายงานอีกครั้ง หากพบข้อผิดพลาดก็จะรายงานให้ Maker เป็นผู้แก้ไข ระบบนี้ช่วยลดโอกาสเกิดข้อผิดพลาดและเพิ่มความมั่นใจในความถูกต้องของการคำนวณเงินเดือน
  • Approver: ผู้อนุมัติ ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลขั้นสุดท้ายและอนุมัติก่อนการจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงาน พร้อมกับทำหน้าที่ติดต่อประสานงานกับฝ่ายการเงินเพื่อดำเนินการโอนเงิน และให้คำปรึกษาในกรณีมีปัญหาหรือข้อขัดแย้งในกระบวนการจัดทำเงินเดือน
RLC Banner_Payroll

สรุป

ปัญหาการคิดเงินเดือนผิดและการจ่ายเงินเดือนล่าช้าเป็นสิ่งที่องค์กรต้องให้ความสำคัญและหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน การใช้โปรแกรมทำเงินเดือนที่ทันสมัยหรือการใช้บริการ Payroll Outsourcing เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับองค์กรที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารทรัพยากรบุคคล RLC Outsourcing นำเสนอโซลูชันที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ ด้วยระบบการทำงานที่เป็นขั้นตอนและมีการตรวจสอบอย่างรัดกุม ช่วยให้องค์กรสามารถมั่นใจได้ว่าการคำนวณเงินเดือนและการจ่ายเงินเดือนจะเป็นไปอย่างถูกต้องและตรงเวลา