fbpx

รู้จักวีซ่า NON-IMMIGRANT “B”(Non-B) วีซ่าธุรกิจสำหรับต่างชาติ

รู้จัก Visa non B

ปัจจุบันการขอวีซ่าสามารถแบ่งประเภทออกได้ทั้งหมดเป็น  7 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกัน ได้แก่ วีซ่าสำหรับพำนักในระยะยาว (Long Stay O-A , O-X), วีซ่านักท่องเที่ยว (Tourist Visa), วีซ่าสำหรับคนเดินทางผ่านราชอาณาจักร หรือวีซ่าสำหรับการใช้ต่อเครื่องบิน (Transit Visa), วีซ่าประเภทอัธยาศัยไมตรี (Courtesy Visa), วีซ่าสำหรับผู้ปฏิบัติหน้าที่เป็นทางการ (Official Visa), วีซ่าเจ้าหน้าที่ทางการทูต (Diplomatic Visa) และวีซ่าคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) ซึ่งวีซ่าแต่ละประเภทก็มีจุดประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ตามความต้องการในการเดินทางเข้ามายังในประเทศนั้น ๆ เช่น ถ้าหากต้องการเดินทางท่องเที่ยว ก็สามารถเลือกขอเป็นวีซ่านักท่องเที่ยว (Tourist Visa) เป็นต้น

และสำหรับชาวต่างชาติที่มีความประสงค์เดินทางมายังประเทศไทยเพื่อการทำงาน เข้าร่วมประชุม หรือติดต่อธุรกิจแบบชั่วคราวในระยะเวลาหนึ่ง จะต้องทำการขอวีซ่าคนอยู่ชั่วคราวประเภท B เพื่อทำงาน ติอต่อธุรกิจ หรือประชุม หรือที่เรียกว่า NON-IMMIGRANT “B” เพื่อให้สามารถพำนักอยู่ในประเทศไทยชั่วคราวได้อย่างถูกกฎหมาย โดยสามารถยื่นเรื่องขอดำเนินการเอกสารเพื่อทำวีซ่าได้ยังหน่วยงานที่รับทำวีซ่าธุรกิจ visa non-b หรือบริษัทที่รับทำวีซ่าอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยมีรายละเอียดเกี่ยวดังนี้

วีซ่า  NON-IMMIGRANT “B” หรือ วีซ่า Non-B คืออะไร

อันดับแรกเรามาทำความเข้าใจกับวีซ่าแบบ NON-IMMIGRANT “B” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า วีซ่า Non-B กันก่อนว่าคืออะไร เพื่อที่จะได้เลือกประเภทการทำวีซ่าได้อย่างถูกต้องตรงกับวัตถุประสงค์ ซึ่งวีซ่า NON-IMMIGRANT “B” นั้นคือวีซ่าสำหรับคนอยู่ชั่วคราวประเภท B  เป็นวีซ่าที่ออกให้กับต่างชาติที่มีความประสงค์จะเดินทางมายังประเทศไทยเพื่อการทำงาน ติดต่อธุรกิจ หรือการเข้าร่วมประชุมภายในประเทศไทย โดยสามารถใช้พำนักอยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 90 วันต่อครั้ง โดยหากมีความประสงค์จะอยู่นานกว่า 90 วัน สามารถต่ออายุเป็น 1 ปีได้ก่อนวีซ่าหมดอายุ 30 วัน

ชาวต่างชาติที่ประสงค์จะทำงานในประเทศไทยนอกจากวีซ่า Non-B แล้ว ใบอนุญาตทำงาน หรือ Work Permit ก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกัน ต่างชาติต้องใช้ทั้งสองเอกสารนี้ควบคู่กันเพื่อทำงาน, ติดต่อธุรกิจ, หรือทำธุรกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

บทความที่เกี่ยวข้อง: การขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit) updated ปี 2566
ใครบ้างที่ต้องขอ Visa non B

วีซ่า Non-B เหมาะสำหรับใคร?

ที่นี้มาดูกันว่า ใครบ้างที่ต้องใช้วีซ่าประเภทนี้ โดยทางกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ กได้มีการกำหนดให้ชาวต่างด้าวที่ต้องการขอวีซ่า  NON-IMMIGRANT “B” จะต้องมีคุณสมบัติหรือวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

    • การปฏิบัติหน้าที่ทางราชการ (F)
    • การติดต่อหรือประกอบธุรกิจ และการทำงาน (B)
    • การลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง (IM)
    • การลงทุนหรือการอื่นภายใต้ข้อบังคับกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน (IB)
    • การศึกษา ดูงาน และฝึกอบรมต่างๆ (ED)
    • การปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน (M)
    • การเผยแผ่ศาสนาที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ (R)
    • การค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์หรือฝึกสอนในสถาบันการค้นคว้า หรือสถาบันการศึกษาในราชอาณาจักร (RS)
    • การปฏิบัติงานด้านช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญ (EX)
RLC Visa Work permit service

นอกจากนี้ยังสามารถขอวีซ่า  NON-IMMIGRANT “B” เพื่อการอื่น (O) ได้แก่

    • การเข้ามาใช้ชีวิตในบั้นปลายในฐานะผู้สูงอายุ
    • การเข้ามาในฐานะคู่ความหรือพยานสำหรับการพิจารณาดำเนินคดี
    • การปฏิบัติหน้าที่หรือภารกิจในครอบครัวคนต่างด้าว ซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการทูต กงสุลหรือปฏิบัติภารกิจอื่น โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคล ดังกล่าว
    • การปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคนรับใช้ส่วนตัวซึ่งเดินทางมาจากต่างประเทศเพื่อมาทำงานตามปกติ ณ ที่พักอาศัยของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต หรือบุคคลซึ่งมีเอกสิทธิ์เท่าเทียมกันกับบุคคลซึ่งมีตำแหน่งทางการทูตตามความตกลงที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือกับองค์การ หรือทบวงการระหว่างประเทศ
    • การให้ความอุปการะแก่หรือรับความอุปการะจากบุคคลสัญชาติไทย หรือบุคคลผู้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร โดยเป็นบิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตร ซึ่งอยู่ในความอุปการะและเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว
    • การปฏิบัติหน้าที่ให้แก่รัฐวิสาหกิจ หรือองค์การกุศลสาธารณะ
    • การเข้ามาในราชอาณาจักรของผู้เคยมีสัญชาติไทย เพื่อเยี่ยมญาติ หรือขอกลับเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักร
    • การเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการรักษาพยาบาล
    • การเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อเป็นผู้ฝึกสอนนักกีฬาตามความต้องการของทางราชการ
วิธีขอ Visa non B

การขอวีซ่า Non-B ทำได้โดยวิธีใดบ้าง

1.การขอจากต่างประเทศเข้ามา

สามารถขอวีซ่า NON-IMMIGRANT “B” ที่กงศุลไทยในประเทศที่อาศัยอยู่ได้เลย โดยเอกสารต่าง ๆ อาจจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเบื้องต้นได้จากกงศุลไทยประจำประเทศ

ซึ่งการขอวีซ่าธุรกิจ visa non-b เข้ามาจะมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 2 ประเภท คือแบบเข้าได้ครั้งเดียว (Single Entry) และแบบเข้าได้หลายครั้ง (Multiple Entry) ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเข้ามาในประเทศไทยของผู้ที่จะขอวีซ่า

  • แบบเข้าได้ครั้งเดียว (Single-Entry) มีอายุวีซ่า 3 เดือน สามารถใช้พำนักในประเทศไทยได้ 90 วันต่อครั้ง โดยผู้ขอจะต้องมีจำนวนเงินติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 20,000 บาท
  • แบบเข้าได้หลายครั้ง (Multiple-Entry) มีอายุวีซ่า 12 เดือน สามารถใช้พำนักในประเทศไทยได้ 90 วันต่อครั้ง แล้วจะต้องมีจำนวนเงินติดตัวขณะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 40,000 บาทต่อครอบครัว

เอกสารประกอบที่ต้องใช้เพื่อยื่นขอ Visa Non-B เข้ามาในประเทศไทย

    • เอกสารที่ใช้ทำวีซ่าต่าง ๆ สำหรับการเข้ามาในประเทศไทยตามวัตถุประสงค์ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการยื่นขอ Visa Non-B ได้ที่เว็บไซต์ https://consular.mfa.go.th/

2.การขอเปลี่ยนวีซ่าในไทย

การเข้ามาเป็น Tourist หรือ ผ 30 แล้วเปลี่ยนเป็น Non-B ในไทย ในกรณีนี้คือคนที่ถือวีซ่าท่องเที่ยวแล้วต้องการเปลี่ยนประเภทวีซ่าเป็น NON-IMMIGRANT “B” สามารถทำได้โดยไปติดต่อที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองเพื่อดำเนินการขอเปลี่ยนประเภทวีซ่า

เอกสารประกอบที่ต้องใช้เพื่อยื่นเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราเป็น Visa Non-B ในประเทศไทย

สำหรับเอกสารที่ใชการยื่นเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตราเป็น Visa Non-B ในประเทศไทย มีดังนี้

    • แบบ ตม. 86 ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนประเภทวีซ่า หรือแบบ ตม. 87 สำหรับผู้ที่ต้องการต่อวีซ่า
    • หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง อายุใช้งานไม่น้อยกว่า 6 เดือน
    • รูปถ่ายขนาด 2 ½ นิ้ว (ขนาด 4 x 6 ซม.) จำนวน 2 รูป (ถ่ายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน /ไม่สวมหมวก และแว่นตาดำ)
    • เอกสารที่ใช้สำหรับเปลี่ยนวีซ่าจาก Tourist หรือ ผ.30 สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการยื่นขอ Visa Non-B ได้ที่เว็บไซต์ Immigration

การต่ออายุ

ผู้ที่ถือวีซ่า NON-IMMIGRANT “B” อยู่แล้ว แต่วีซ่ากำลังหมดอายุ สามารถดำเนินการต่ออายุวีซ่าได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองได้เช่นเดียวกัน

เอกสารประกอบที่ต้องใช้เพื่อต่ออายุ Visa Non-B ในประเทศไทย

เอกสารที่ใช้ต่ออายุวีซ่า สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของเอกสารต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในการยื่นต่ออายุ Visa Non-B ได้ที่เว็บไซต์ Immigration

คุณสมบัติและเงื่อนไขในการขอ visa non b

ทีนี้มาดูกันว่าผู้ที่ทำการขอวีซ่า Non-B จะต้องมีคุณสมบัติเบื้องต้นอย่างไรกันบ้าง โดยคุณสมบัติพื้นฐานคือต้องเป็นชาวต่างชาติที่มีความประสงค์เข้ามาทำงานในประเทศไทยในระยะสั้น ส่วนคุณสมบัติเบื้องต้นอื่น ๆ มีดังนี้

  • ต้องมีใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติ (Work Permit) หรือ ใบอนุญาตทำงานแทนคนต่างชาติ บต.32 (WP 3)
  • ต้องมีเงินเดือนตามที่กฎหมายกำหนด
  • บริษัทที่ว่าจ้างจะต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท ต่อจำนวนคนต่างด้าว 1 คน และจะต้องมีอัตราส่วนจำนวนคนต่างด้าวต่อพนักงานไทย 1 ต่อ 4 คนด้วย
ค่าธรรมเนียม วีซ่า non b

ค่าธรรมเนียมวีซ่า

1.การขอจากข้างนอกประเทศเข้ามา

ในส่วนของค่าธรรมเนียม Visa Non-B สามารถแบ่งออกตามประเภท โดยค่าธรรมเนียมวีซ่า Non-B แบบเข้าได้ครั้งเดียว หรือ Single Entry จะมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 2,000 บาท ในขณะที่ค่าธรรมเนียมวีซ่า Non-B แบบเข้าได้หลายครั้ง หรือ Multiple Entry จะมีค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 5,000 บาท 

2.การขอเปลี่ยนวีซ่าในไทย

ค่าธรรมเนีนมสำหรับการเปลี่ยนวีซ่า จาก Tourist หรือ ผ.30 เป็น Non-B อยู่ที่ 2,000 บาท

3.การต่ออายุ

ค่าธรรมเนียมสำหรับการขอต่ออายุวีซ่า Non-B อยู่ที่ 1,900 บาท

นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมวีซ่าดังกล่าวแล้วในกรณีการขอวีซ่าในไทยและการต่ออายุ สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางออกนอกประเทศแล้วกลับเข้ามา จำเป็นต้องขอวีซ่าแบบ Re-Entry เพิ่มเติมด้วย เพื่อที่เมื่อเดินทางออกนอกประเทศ และกลับเข้ามาในไทย วีซ่า Non-B จะยังคงอยู่ โดยค่าธรรมเนียมของวีซ่า Multiple Re-Entry (สำหรับเดินทางเข้า-ออกหลายครั้ง) จะอยู่ที่ 3,800 บาท และ 1,000 บาท สำหรับวีซ่า Sigle Re-Entry (สำหรับเดินทางเข้า-ออกครั้งเดียว)

ซึ่งหากไม่ได้ทำ Re-Entry เมื่อเดินทางออกนอกประเทศและกลับเข้ามาในไทยจะมีผลทำให้วีซ่า Non-B ที่ทำไว้สิ้นสภาพทันทีและต้องกลับไปเริ่มต้นในกระบวนการขอวีซ่าใหม่

สรุป

ดังนั้นสำหรับชาวต่างชาติที่มีความประสงค์ทำงานในประเทศไทย อันดับแรกคือจำเป็นที่จะต้องมีวีซ่า Non-B กันเสียก่อนเพื่อเป็นใบเบิกทางสำหรับการเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกกฎหมาย ซึ่งการขอก็จะทำได้ 2 วิธีข้างต้นที่กล่าวมา คือการขอจากนอกประเทศเข้ามาและการเข้ามาด้วยวีซ่าท่องเที่ยวหรือ ผ30 จากนั้นมาเปลี่ยนเป็น Non-B ในไทย อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ควรระวังคือ เมื่อได้วีซ่าแล้วเราแนะนำให้ทำ Multiple Re-Entry เพื่อใช้สำหรับกรณีที่ต่างชาติต้องเดินทางเข้าออกประเทศไทย โดย Multiple Re-Entry จะป้องกันการสิ้นสภาพของวีซ่า Non-B ในกรณีดังกล่าว

นอกเหนือไปจากขอวีซ่า Non-B แล้ว ชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศไทยก็จะต้องมีเอกสารเป็นใบอนุญาตทำงานในประเทศไทย หรือ Work Permit ควบคู่กันไปด้วย ถึงจะสามารถทำงาน ติดต่อธุรกิจ หรือทำธุรกรรมต่าง ๆ ภายในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยสามารถดูรายละเอียดและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของกรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศหรือเลือกใช้บริการกับบริษัทฯ หรือหน่วยงานที่รับทำวีซ่าอย่างถูกกฎหมาย ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยประหยัดเวลาและอำนวยความสะดวกสบายให้กับธุรกิจของคุณซึ่งที่ RLC Outsourcing ของเรามีบริการรับทำวีซ่าต่าง ๆ รวมไปถึงการรับทำวีซ่าธุรกิจ visa non-b ด้วยเช่นกัน

Leave a Reply

Your email address will not be published.